การแสดงความสามารถของช้าง
สุรินทร์เป็นจังหวัดในกลุ่มอีสานใต้ที่มีชาวพื้นเมืองเชื้อสายชาวส่วยอยู่มาก
โดยเฉพาะที่อำเภอท่าตูม อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕๐ กิโลเมตร
ชาวส่วยนอกจากจะมีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างไปจากชาวไทยอีสานอื่นแล้ว
ยังเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานมาแต่โบราณ โดยใช้วิธี “โพนช้าง”คือวิธีให้ช้างต่อไปล่อจับช้างป่า
ป่าที่ไปทำการโพนช้างเป็นป่าอยู่ตอนใต้ของอำเภอสังขะและอำเภอปราสาท
จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับเขตป่าชายแดนกัมพูชา
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเนื่องจากชาวบ้านมีความสามารถในการโพนช้างตามบรรพบุรุษ ต่อมาการโพนช้างลำบากขึ้น เพราะปัญหาชายแดนและช้างป่าลดจำนวนลง ชาวบ้านจึงเลี้ยงช้างกันเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ริเริ่มให้มีการจัดงานแสดงของช้างขึ้น เพื่อแนะนำอำเภอท่าตูมให้เป็นที่รู้จัก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่างานแสดงของช้างที่ท่าตูมแปลกเด่นเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ ที่จะใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้ จึงให้ความร่วมมือสนับสนุนในการจัดงานและประชาสัมพันธ์งาน จนกระทั่งเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้งานช้างที่จังหวัดสุรินทร์เป็นงานประจำปีของชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา และย้ายสถานที่จัดงานจากอำเภอท่าตูมเป็นที่สนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์
งานแสดงของช้าง จังหวัดสุรินทร์ จะจัดให้มีในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายนทุกปี เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ในงานจะมีการแสดงช้างเพื่อให้เห็นถึงความชาญฉลาดของช้างไทย และการรู้จักนำช้างป่ามาฝึกใช้งาน ในขณะเดียวกันก็มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นด้วย
ขบวนพาเหรดช้างเป็นการนำช้างที่มาร่วมแสดงทุกเชือกเดินเข้าขบวน ต่อจากนั้นเป็นการแห่บั้งไฟโดยมีการนำบั้งไฟมาให้ชมว่าเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จากนั้นเป็นการเซ่นผีปะกำของชาวส่วย ซึ่งเป็นพิธีที่ “หมอช้าง”ทำขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนออกไปโพนช้าง โดยทำพิธีที่ลานบ้านของตนเอง เครื่องเซ่นสังเวยได้แก่ หมู ดอกไม้ และเหล้า ที่สำคัญคือ เชือกปะกำหรือบ่วงบาศก์ ซึ่งทำจากหนังควายมาตัดเป็นริ้ว ๆ ตากแห้งไว้ประมาณ ๑ ปี จึงนำมาขวั้นเป็นเชือก มีความเหนียวมาก ใช้สำหรับคล้องช้าง เชือกปะกำนี้ถือว่าแรงมากหลังจากได้ผ่านการเซ่นผีปะกำ เพราะเป็นการอัญเชิญวิญญาณปู่ย่าตายาย ครูบา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตบันดาลให้สามารถคล้องช้างได้ทุกครั้งเมื่อออกป่า
รายการต่อไปเป็นการสาธิตการคล้องช้างของชาวส่วยให้ชม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจมากเนื่องจากแสดงให้เห็นการจับช้างตามแบบชาวบ้านที่ต้องใช้ความชำนาญมาก โดยจับช้างป่าที่ปราดเปรียวและดุร้าย โดยใช้เพียงเชือกปะกำเท่านั้น จบแล้วจึงแสดงการเป็นช้างทำงาน เช่น ลากซุง เป็นต้น และการนำช้างมาวิ่งเก็บของแข่งกันเป็นที่สนุกสนานทั้งช้างและควาญ
การแสดงของช้างจะหยุดพักเพื่อให้ช้างได้พักผ่อน และจัดให้มีการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ การรำสาก หรือเรือมอันเร จำนวนนับร้อยคู่ให้ชมเต็มสนาม ด้วยลีลาท่าร่ายรำสวยงามประทับใจ หลังจากนั้นเป็นการแสดงของช้างอีกช่วงหนึ่ง ด้วยการแสดงช้างวิ่งเร็ว การแสดงช้างข้ามคน ช้างปฏิบัติตามคำสั่งควาญ เพื่อแสดงให้เห็นความแสนรู้ของช้างและเชื่อฟังคำสั่งของควาญอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะสั่งให้ทำอะไร
การแสดงที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวอีกอย่างหนึ่งคือ การแสดงช้างชักเย่อกับคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมหาศาล สามารถปะทะกำลังระหว่างช้าง ๑ เชือกกับทหาร ๑ กองทัพได้อย่างสบาย รายการนี้ได้มีการชักชวนให้นักท่องเที่ยวมาร่วมในการชักเย่อกับช้างด้วย จากนั้นเป็นการแสดงช้างแข่งขันฟุตบอล โดยแบ่งช้างออกเป็น ๒ ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่เหมาะสมกับตัวช้างมาใช้เตะเข้าประตูจริง ๆ คนดูต่างก็ช่วยเชียร์ทีมที่ตนเองเอาใจช่วยเป็นการใหญ่ สร้างความสนุกสนานให้กับคนดูเป็นอย่างยิ่ง
รายการสุดท้ายเป็นขบวนช้างศึกในรูปกระบวนยุทธหัตถี แสดงให้เห็นการรบทัพจับศึกในสมัยโบราณซึ่งช้างมีส่วนสำคัญแก่กองทัพเป็นอย่างยิ่ง
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเนื่องจากชาวบ้านมีความสามารถในการโพนช้างตามบรรพบุรุษ ต่อมาการโพนช้างลำบากขึ้น เพราะปัญหาชายแดนและช้างป่าลดจำนวนลง ชาวบ้านจึงเลี้ยงช้างกันเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ริเริ่มให้มีการจัดงานแสดงของช้างขึ้น เพื่อแนะนำอำเภอท่าตูมให้เป็นที่รู้จัก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่างานแสดงของช้างที่ท่าตูมแปลกเด่นเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ ที่จะใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้ จึงให้ความร่วมมือสนับสนุนในการจัดงานและประชาสัมพันธ์งาน จนกระทั่งเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้งานช้างที่จังหวัดสุรินทร์เป็นงานประจำปีของชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา และย้ายสถานที่จัดงานจากอำเภอท่าตูมเป็นที่สนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์
งานแสดงของช้าง จังหวัดสุรินทร์ จะจัดให้มีในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายนทุกปี เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ในงานจะมีการแสดงช้างเพื่อให้เห็นถึงความชาญฉลาดของช้างไทย และการรู้จักนำช้างป่ามาฝึกใช้งาน ในขณะเดียวกันก็มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นด้วย
ขบวนพาเหรดช้างเป็นการนำช้างที่มาร่วมแสดงทุกเชือกเดินเข้าขบวน ต่อจากนั้นเป็นการแห่บั้งไฟโดยมีการนำบั้งไฟมาให้ชมว่าเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จากนั้นเป็นการเซ่นผีปะกำของชาวส่วย ซึ่งเป็นพิธีที่ “หมอช้าง”ทำขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนออกไปโพนช้าง โดยทำพิธีที่ลานบ้านของตนเอง เครื่องเซ่นสังเวยได้แก่ หมู ดอกไม้ และเหล้า ที่สำคัญคือ เชือกปะกำหรือบ่วงบาศก์ ซึ่งทำจากหนังควายมาตัดเป็นริ้ว ๆ ตากแห้งไว้ประมาณ ๑ ปี จึงนำมาขวั้นเป็นเชือก มีความเหนียวมาก ใช้สำหรับคล้องช้าง เชือกปะกำนี้ถือว่าแรงมากหลังจากได้ผ่านการเซ่นผีปะกำ เพราะเป็นการอัญเชิญวิญญาณปู่ย่าตายาย ครูบา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตบันดาลให้สามารถคล้องช้างได้ทุกครั้งเมื่อออกป่า
รายการต่อไปเป็นการสาธิตการคล้องช้างของชาวส่วยให้ชม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจมากเนื่องจากแสดงให้เห็นการจับช้างตามแบบชาวบ้านที่ต้องใช้ความชำนาญมาก โดยจับช้างป่าที่ปราดเปรียวและดุร้าย โดยใช้เพียงเชือกปะกำเท่านั้น จบแล้วจึงแสดงการเป็นช้างทำงาน เช่น ลากซุง เป็นต้น และการนำช้างมาวิ่งเก็บของแข่งกันเป็นที่สนุกสนานทั้งช้างและควาญ
การแสดงของช้างจะหยุดพักเพื่อให้ช้างได้พักผ่อน และจัดให้มีการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ การรำสาก หรือเรือมอันเร จำนวนนับร้อยคู่ให้ชมเต็มสนาม ด้วยลีลาท่าร่ายรำสวยงามประทับใจ หลังจากนั้นเป็นการแสดงของช้างอีกช่วงหนึ่ง ด้วยการแสดงช้างวิ่งเร็ว การแสดงช้างข้ามคน ช้างปฏิบัติตามคำสั่งควาญ เพื่อแสดงให้เห็นความแสนรู้ของช้างและเชื่อฟังคำสั่งของควาญอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะสั่งให้ทำอะไร
การแสดงที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวอีกอย่างหนึ่งคือ การแสดงช้างชักเย่อกับคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมหาศาล สามารถปะทะกำลังระหว่างช้าง ๑ เชือกกับทหาร ๑ กองทัพได้อย่างสบาย รายการนี้ได้มีการชักชวนให้นักท่องเที่ยวมาร่วมในการชักเย่อกับช้างด้วย จากนั้นเป็นการแสดงช้างแข่งขันฟุตบอล โดยแบ่งช้างออกเป็น ๒ ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่เหมาะสมกับตัวช้างมาใช้เตะเข้าประตูจริง ๆ คนดูต่างก็ช่วยเชียร์ทีมที่ตนเองเอาใจช่วยเป็นการใหญ่ สร้างความสนุกสนานให้กับคนดูเป็นอย่างยิ่ง
รายการสุดท้ายเป็นขบวนช้างศึกในรูปกระบวนยุทธหัตถี แสดงให้เห็นการรบทัพจับศึกในสมัยโบราณซึ่งช้างมีส่วนสำคัญแก่กองทัพเป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น