วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติ

ความเป็นมาของงานแสดงช้างสุรินทร์

บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว “กวย” หรือ “ส่วย” นิยมเลี้ยวช้างมาแต่โบราณกาล เพื่อนำไปใช้ในงานและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของหมู่บ้านช้าง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุน โดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดง และนำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมการแสดง
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาจัดงานที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ ๔๗
การจับช้าง



ย้อนอดีตกลับไปเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยาช้างเผือกสำคัญแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางเมืองพิมาย พระองค์จึงโปรดฯ ให้ทหารออกติดตาม จนกระทั่งถึงเขตที่ชุมชนชาวกูย (กวย) อาศัยอยู่ ซึ่งชาวกวยกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีความชำนาญในการคล้องช้างและจับช้างอย่างยิ่งในที่สุดก็สามารถติดตามช้างเผือกจนพบและนำกลับสู่กรุงศรีอยุธยาความดีความชอบในครั้งนั้น ส่งผลให้หัวหน้าชาวกูยที่เป็นคณะติดตามช้างได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์


surin1.jpg (29694 bytes)
































เหตุการณ์ชุมนุมช้างอย่างไม่ได้ตั้งใจในปี๒๔๙๘ ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากันสนใจกันเป็นจำนวนมาก และในปี ๒๕๐๓ อำเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลายให้นำช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกันเนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศการแสดงในครั้งนั้นด้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากซึ่งนอกจากจะมีการแสดงคล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง การแข่ง วิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริงมีมหรสพต่างๆตลอดคืน ซึ่งใครจะคาดคิดว่าจากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอเล็กๆแห่งหนึ่งในถิ่นทุรกันดารของภาคอืสานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จะกลายมาเป็นงานประเพณีของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลกนัต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบันประเพณีการแสดงของช้างได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี แล้ว   ถ้าเป็นคนก็ถือว่าย่างเข้าสู่วัยกลางคนก็ไม่ผิดเท่าใดนักสุรินทร์ จังหวัดที่เคยเงียบเหงาในอดีต ได้ถูกชาวกูยและช้างสร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ วีรกรรมของชาวกูยปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากบรรพบุรุษเลยแม้แต่น้อย...










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น